เกียรติยศ ของ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

ธรรมเนียมยศของ
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
ตราประจำตัว
การเรียนพระบาทเจ้า
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/หม่อมฉัน
การขานรับกระหม่อม/เพคะ

บรรดาศักดิ์

ตราผู้สำเร็จราชการของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาสุริยวงศ์

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เริ่มเข้ารับราชการครั้งแรกตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยเริ่มต้นจากการเป็นมหาดเล็ก และท่านก็ได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เรื่อยมา จนได้ดำรงตำแหน่งสุดท้ายที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ซึ่งนับเป็นบุคคลที่ดำรงตำแหน่งนี้เป็นคนสุดท้ายอีกด้วย โดยท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นลำดับ ดังต่อไปนี้[1]

  • พ.ศ. 2369 อายุได้ 18 ปี เป็นนายไชยขรรค์ มหาดเล็กหุ้มแพร
  • พ.ศ. 2376 อายุได้ 25 ปี เป็นหลวงสิทธิ์ นายเวรมหาดเล็ก ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า หลวงนายสิทธิ์
  • พ.ศ. 2384 อายุได้ 33 ปี เป็นจมื่นไวยวรนาถ หัวหมื่นมหาดเล็ก
  • พ.ศ. 2385 อายุได้ 34 ปี รัชกาลที่ 3 ทรงเพิ่มสร้อยนามพระราชทานว่า “จมื่นไวยวรนาถ ภักดีศรีสุริยวงศ์”
  • พ.ศ. 2393 อายุได้ 42 ปี เป็นพระยาศรีสุริยวงศ์ วางจางมหาดเล็ก
  • พ.ศ. 2394 อายุได้ 43 ปี เป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สมันพงศพิสุทธิ มหาบุรุษรัตโนดม ว่าที่สมุหพระกลาโหม
  • พ.ศ. 2398 อายุได้ 47 ปี เป็นอัครมหาเสนาบดีที่สมุหพระกลาโหมเต็มตำแหน่ง
  • พ.ศ. 2412 อายุได้ 61 ปี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว
  • พ.ศ. 2416 อายุได้ 65 ปี เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์

เครื่องยศ

เมื่อท่านได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเครื่องยศให้ท่านเทียบเท่าเจ้าต่างกรมชั้นกรมหลวง ซึ่งประกอบด้วย[35]

  • มาลาเครื่องยศ
  • เสื้อทรงประพาส
  • ดาบฝักทอง
  • พานหมากทองคำ

  • คนโททองคำ
  • กระโถนทองคำ
  • หีบไม้แดงลงยา (หีบหมากทองคำลงยา)
  • ที่ยาทองคำ

นอกจากเครื่องยศที่ท่านได้รับพระราชทานแล้ว คำสั่งของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์นั้น ยังเรียกว่า "พระประศาสน์" ดังนั้น ท่านจึงมีสมญานามที่ใช้เรียกแทนตัวว่า "พระประศาสน์" หรือ "สมเด็จพระประศาสน์" ด้วย[36]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างๆเป็นลำดับ ดังต่อไปนี้[37][3]

ดวงตราประจำตัว

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ยังมีตราประจำตัว ได้แก่ ตราสุริยมณฑล ซึ่งมีลักษณะเป็นตราเทพบุตรชักรถ ภายหลังท่านได้นำตรานี้มาดัดแปลงเป็นรูปพระอาทิตย์แบบฝรั่ง เลียนแบบตราพระอาทิตย์จากพระราชวังแวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศส ตราสุริยมณฑลนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานให้แก่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ในขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ทั่วพระราชอาณาจักร (คู่กับตราจันทรมณฑล ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการในพระนคร (และกรมพระคลังสินค้า) ซึ่งเป็นน้องชายของท่าน) แต่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ยังคงถือตราพระคชสีห์สำหรับตำแหน่งสมุหพระกลาโหม (กรมกลาโหม) และตราบัวแก้วสำหรับตำแหน่งเจ้าพระยาพระคลัง (กรมท่า) ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้พระราชทานตราสุริยมณฑลให้แก่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ดังนั้น ท่านจึงใช้ตราสุริยมณฑลเป็นตราประจำตัวตั้งแต่นั้นมา โดยท่านจะใช้ตรานี้ประทับกำกับไว้ที่หนังสือราชการ สิ่งของเครื่องใช้ หรือสถานที่ต่างๆ ที่ท่านสร้างไว้[35]

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/K3... http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/K3... http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/K3... http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetail.asp?st... http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp... http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp... http://www.watbuppha.com/somdej/somdej.doc http://www.watbuppha.com/somdej/somdej01.php http://www.watbuppha.com/somdej/somdej02.php http://www.watbuppha.com/somdej/somdej03.php